วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Mutant มนุษย์กลายพันธุ์

จากที่ทราบกันแล้วว่าHero ส่วนใหญ่ของมาร์เวลเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ (Mutant)
เรามาทำความเข้าใจกันว่าMutant คืออะไร

Mutant=มนุษย์กลายพันธุ์
Mutation=การกลายพันธุ์
ซึ่งถ้าเราได้เคยดู X-Men กันมาแล้ว จะได้คำยิน2คำนี้บ่อยมาก เรามาทำความเข้าใจกัน

มนุษย์กลายพันธุ์

สิ่ง มีชีวิตกลายพันธุ์ หรือ มิวแทนท์ (mutant) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักพันธุศาสตร์ เรียกว่า"อสูรกาย" ("monster") คือสิ่งมีชีวิตที่มีความเฉพาะเจาะจงของลักษณะทางพันธุกรรม มีอวัยวะพิเศษ หรือมียีนส์ที่แปลกไป โดยพัฒนาหรือส่งผลจากการวิวัฒนาการ หรือการกลายพันธุ์ซึ่งเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ เชิงโครงสร้างภายในดีเอ็นเอของยีนส์ หรือสายพันธุกรรม ส่งผลให้เกิดบุคลิกลักษณะใหม่ ๆ หรือไม่เคยพบเห็นในรุ่นพ่อแม่ ในเชิงชีวภาพหรือลักษณะเฉพาะตัว บุคลิกใหม่ ๆ ที่กลายพันธุ์มาอาจจะยังเป็นปกติหรือไม่ปกติก็ได้ อาจจะไม่ส่งผลเชิงบวกหรือส่งผลในแง่ดี แต่มักจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมเสียมากกว่า โดยมากการกลายพันธุ์ของยีนส์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นขั้นตอนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตรูปแบบหนึ่ง ในมนุษย์จะเรียกว่ามนุษย์ กลายพันธุ์

มีนักวิทยาศาสตร์ และนักพันธุศาสตร์หลายคนเชื่อว่า การกลายพันธุ์ของมนุษย์ เริ่มเกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา สาเหตุของการกลายพันธุ์มีอยู่หลากหลายปัจจัย โดยมาก จะสรุปเอาว่า เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของโลกเป็นพื้นฐานหลัก ประกอบกับที่มนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยี ทั้งทางการแพทย์ เคมี ชีวภาพ ซึ่งส่งผมข้างเคียงต่อพันธุกรรมมนุษย์ การผลิตยา และให้ยาในปัจจุบัน ที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย การใช้ยาบำรุง อาหารสำเร็จรูป อาหารเสริม อันส่งผลต่อระบบเซลล์ ตลอดรายละเอียดด้านพันธุศาสตร์ของมนุษย์ อันส่งผลสู่รุ่นต่อไปในการสืบพันธุ์มนุษย์ การกลายพันธุ์ที่พบบ่อยมากที่สุดคือ มนุษย์เริ่มมีการตั้งครรภ์บุตรจำนวนได้มากกว่า 1-2 สองคน หรือที่เรียกว่า "แฝด" ปัจจุบัน ค้นพบว่า มนุษย์สามารถตั้งครรภ์ และให้กำเนิดบุตร ได้มากถึง 8 ชีวิต ซึ่งนับว่าเป็นการแบ่งแยกเซลล์ ในการสืบพันธุ์ หลังการปฏิสนธิของอสุจิ และรังไข่ ซึ่งโดยมาจะแยกเซลล์ไม่มากถึง 8 เซลล์เช่นนี้ ต่อมาเป็นการกลายพันธุ์ทางด้านจิต เชื่อว่า มนุษย์ทั้งเพศชายและหญิงในปัจจุบัน พบความเบี่ยงเบนทางเพศสูงกว่าในอดีตอย่างมาก ซึ่งถือเป็นการกลายพันธุ์ด้านของเหลวภายในร่างกาย หรือฮอโมนที่กำหนดการรับรู้ต่างๆ ของมนุษย์ การเติบโตของสมองซีกซ้ายและขวา ซึ่งมีส่วนในการตระหนักรับรู้เพศของบุคคล ก็รับผลกระทบด้านการกลายพันธุ์เช่นกัน

ในกลุ่มจำนวนน้อย แต่เป็นกลุ่มที่มีการกลายพันธุ์สูงสุด และยังไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ยังคงมีนักวิทยาศาสตร์ และนักพันธุศาสตร์จำนวนหนึ่ง พยายามค้นหาทฤษฎี และหลักฐานมายืนยันความเชื่อ ที่ว่า การกลายพันธุ์ยังส่งผลถึงยีนส์ (จิโนม) มนุษย์ ให้มีความสามารถ (Ability) ที่สูงขึ้นกว่าในวิวัฒนาการในอดีต โดยส่งผลต่อประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การสัมผัส การรับรส การได้กลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน ซึ่งมีการเพิ่มความสามารถมากขึ้น หรือที่เรียกกันว่า "สัมผัสที่หก" โดยแยกออกได้หลายกลุ่ม โดยจะแยกตามสิ่งที่พบได้มากที่สุดดังนี้

- การได้ยินในสิ่งที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถได้ยินได้ เช่น คลื่นวิทยุ สัญญาณต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งส่งผลต่อจิตใจ ทำให้ต้องมีการบำบัดต่อไป

- การสัมผัส หรือประสาทสัมผัสรวดเร็วสูงกว่าคนปกติ เช่น ความว่องไวต่อสิ่งเร้าที่จะเข้ามาถึงตัวไวกว่าผู้อื่น

- พละกำลัง ณ ที่นี้หมายถึง มีกำลังวังชาสูงกว่าคนปกติ พบมากในกลุ่มอาชญากร และผู้ชาย เพราะการกลายพันธุ์นี้ ส่งผลต่อความก้าวร้าวด้วย

- ความสามารถที่ถูกจัดอยู่ในความเชื่องมงาย ความสามารถนี้ เป็นที่ยอมรับน้อยที่สุด อาทิเช่น เห็นเหตุการณ์ล่วงหน้า (มิใช่เดจาวู)


มีบุคคลหลายคนอ้างว่า พวกเขาสามารถมองเห็นเหตุการณ์่ที่จะเกิดขึ้นได้ โดยผ่านช่องทางแตกต่างกันไป เช่น การฝัน การมีภาพฉับพลันเข้ามา
ตลอดจนการหลับตา แล้วนึกถึง โดยมีผู้อธิบายระดับ (Level) ในการมองเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าไว้หลักๆ 5 ระดับ
ซึ่งระดับต่ำที่สุด จะสามารถมองเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้า ได้ไม่เกินสามวัน สูงขึ้นมาจะมองเห็นได้ไม่เกินสองสัปดาห์
ระดับที่สาม จะมองเห็นได้ไม่เกินหนึ่งเดือน อันดับที่สอง จะได้ไม่เกิดสองเดือน ถึงครึ่งปี และระดับสูงสุด จะสามารถควบคุมการมองเห็นได้

ทั้งนี้ การกลายพันธุ์ของมนุษย์ ยังถูกนำไปสร้างเป็นนวนิยายวิทยาศาสตร์
ภาพยนตร์เรื่องสั้น และเรื่องยาว อาทิ X-Men, Heroes เป็นต้น
ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ และนักพันธุศาสตร์จำนวนไม่มาก มีความเชื่อเรื่องนี้
และพยายามหาหลักฐานมายืนยันอีกด้วย นักพันธุศาสตร์กลุ่มหนึ่ง
เคยอ้างว่าพบเด็กชายวัย 13 ปี ที่สามารถเคลื่อนย้ายสิ่งของได้ด้วยจิต
ต่อมาเขาฆ่าตัวตายในวัน 17
เนื่องจากไม่สามารถควบคุมพลังที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของเขาได้
และเกิดความกลัวอย่างสุดขีด หรือจะเป็นเด็กสาววัยรุ่นคนหนึ่ง
ที่ได้ยินเสียงความถี่ของคลื่นวิทยุ และสัญญาณโทรศัพท์ตลอดเวลา
ซึ่งปัจจุบันเธอสูญเสียการได้ยินไปแล้ว อีกราย เป็นเด็กชายทารก
ที่ทางกลุ่มตั้งชื่อการกลายพันธุ์ประเภทนี้ว่า Regeneration หรือ Heal
ซึ่งเป็นกลุ่มมนุษย์กลายพันธุ์ที่มีเซลล์ที่แข็งแรง
ทำให้พวกเขารักษาตัวเองได้เร็วกว่าบุคคลทั่วไป เช่น
หากพวกเขาได้รับบาดเจ็บจากมีดบาด คนปกติอาจใช้เวลา 1-2 สัปดาห์
กว่าแผลของพวกเขาจะหายเป็นปกติ
แต่มนุษย์กลายพันธุ์กลุ่มนี้อาจหายได้ภายในเวลาไม่ถึง 3 วัน
และไม่ทิ้งรอยแผลเป็น หรือผมยาวเร็วกว่าคนทั่วไป
หรือไม่ว่าจะเป็นการที่มีอายุยืนยาว หรือไม่ค่อยมีโรคภัยเท่าผู้อื่น
หรือสามารถอยู่รอดได้
ในที่ที่มีโรคระบาดโดยตนเองมีภูมิคุ้มกันที่เหลือเชื่อ เป็นต้น

แต่ถึงอย่างไร ก็ยังไม่มีการให้ความสนใจ ในการกลายพันธุ์แบบเหนือธรรมชาติเช่นนี้นัก จึงยังคงไม่มีการศึกษาหรือเผยแพร่ข้อมูลอย่างกว้างขวาง กระนั้น การกลายพันธุ์แบบเหนือธรรมชาติ ก็ยังคงไม่มีให้พบเห็นมากนัก จะพบเห็นได้มาก ก็แต่การกลายพันธุ์ทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็น นิ้วเกิน หรืออวัยวะส่วนอื่นเกิน, บุคคลระบุเพศไม่ได้ (ไม่มีอวัยวะเพศ), มนุษย์เผือก, ผู้หญิงขนดก, ชาย-หญิงที่ร่างกายปกคลุมไปด้วยขน (Ware wolf) ,ตาสองสี, ผิวทนต่อความร้อน หรือไฟ, มีภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด, เด็กหน้าแก่ และอื่นๆ อีกมากมาย


การกลายพันธุ์

การกลาย พันธุ์ หรือ มิวเทชัน (อังกฤษ: mutation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มปกติ

มิ วเทชันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต

มิวเทชันเป็น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต 2 ระดับ คือ ระดับโครโมโซม (chromosomal mutation) และระดับยีนหรือโมเลกุล ดีเอ็นเอ (DNA gene mutation)

การ เปลี่ยนแปลงระดับโครโมโซม

แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
  1. การเปลี่ยนแปลงรูปร่างโครงสร้างภายในของแต่ละโครโมโซม เป็นผลให้เกิดการสับเปลี่ยนตำแหน่งของยีนที่อยู่ในโครโมโซมนั้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจาก
    1. การขาดหายไป (deletion หรือ deficiency) ของส่วนใดส่วนหนึ่งของโครโมโซม ทำให้ยีนขาดหายไปด้วย เช่น กรณีการเกิดโรคของกลุ่มอาการคริดูชาต์ โดยโครโมโซมคู่ที่ 5 เส้นหนึ่ง มีบางส่วนขาดหายไป
    2. การเพิ่มขึ้นมา (duplication) โดยมีส่วนใดส่วนหนึ่งของโครโมโซม เพิ่มขึ้นมามากกว่าที่มีอยู่ปกติ
    3. การเปลี่ยนตำแหน่งทิศทาง (inversion) โดยเกิดการสับเปลี่ยนตำแหน่งของยีนภายในโครโมโซมเดียวกัน เนื่องจากเกิดรอยขาด 2 แห่งบนโครโมโซมนั้น และส่วนที่ขาดนั้นไม่หลุดหายไป แต่กลับต่อเข้ามาใหม่ในโครโมโซมเดิมโดยสลับที่กัน
    4. การเปลี่ยนสลับที่ (translocation) เกิดจากการแลกเปลี่ยนส่วนของโครโมโซมระหว่างโครโมโซมที่ไม่เป็นโฮโมโลกัสกัน
  2. การเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซม โดยอาจมีจำนวนโครโมโซมเพิ่มมากขึ้นหรือลดน้อยลงไปจากจำนวนปกติ (ดิปลอยด์ หรือ 2n) เกิดได้ 2 ลักษณะ คือ
    1. แอนยูพลอยดี (aneuploidy) เป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนของโครโมโซมเพียงไม่กี่เส้นจากจำนวนปกติ เช่น อาจเป็น 2n ± 1 หรือ n ± 2 การเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมแบบนี้ มีความสำคัญทางการแพทย์เป็นอย่างมาก โดยทั่วไปเกิดจากความผิดปกติของคู่โครโมโซมที่ไม่ยอมแยกตัวออกจากกันใน ระหว่างการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เรียกปรากฏการณ์ที่โครโมโซมไม่แยกออกจากกันนี้ว่า นอนดิสจังชัน (nondisjunction) ความผิดปกติของการมีแอนยูพลอยดีที่เกิดขึ้นในคน เช่น กลุ่มอาการดาวน์ ซึ่งมีโครโมโซม 47 เส้น โดยโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 เส้น กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter’s Syndrome) มีโครโมโซม 47 เส้น โดยโครโมโซมคู่ที่ 23 มีโครโมโซม X เกินมา 1 เส้น (44 + XXY)
    2. ยูพลอยดี (euploidy) เป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนชุดของโครโมโซม (2n ± n หรือ 2n ± 2n) ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเท่าที่พบ เกิดขึ้นในพวกพืช และมีประโยชน์ในทางการเกษตรในแง่การเพิ่มผลผลิต และเป็นกลไกที่จะทำให้เกิดวิวัฒนาการในพืช สำหรับสัตว์เมื่อเกิดแล้วมักจะทำให้เป็นหมัน หรือผลิตเซลล์สืบพันธุ์ที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ

มิ วเทชันของยีน

มิวเทชันของยีน การเปลี่ยนแปลงในระดับยีนนี้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเบส (A, T, C, G) หรือการเปลี่ยนตำแหน่งของลำดับการเรียงตัวของเบสในโมเลกุลของ DNA ซึ่งจะส่งผลสะท้อนไปถึงตำแหน่งการเรียงตัวของกรดอะมิโน ในสายพอลิเปปไทด์ในโมเลกุลของโปรตีนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของยีนนั้นด้วย การเปลี่ยนแปลงของเบสในโมเลกุล DNA ดังกล่าวอาจทำให้ไม่มีการสร้างโปรตีน หรือโปรตีนที่สร้างขึ้นมานั้นเปลี่ยนสมบัติทางเคมีไปจากเดิม หรือหมดสภาพการทำงานไป

การเปลี่ยนแปลงของยีนนั้นมีพื้นฐานมาจากการเปลี่ยนแปลงใน 3 ประการคือ

  1. การขาดหายไป หรือการเพิ่มขึ้นมาของคู่สารประกอบไนโตรจีนัลเบส คือเพียวรินไพริมิดีนในสายของ DNA ทำให้การเรียงลำดับของเบสเปลี่ยนไปจากเดิม และผลที่ติดตามมาคือ รหัสพันธุกรรมผิด หรือคลาดเคลื่อนไป
  2. การเปลี่ยนคู่ของเพียวรินไพริมิดีนในโมเลกุลของ DNA ที่เกิดขึ้นในระหว่างมีการสร้าง DNA ในระยะอินเตอร์เฟส ซึ่งเกิดจากการที่สารเคมีบางชนิดที่มีโครงสร้างคล้ายกับเบสตัวหนึ่งแต่มี สมบัติทางเคมีในเชิงการจับคู่ต่างไปจากเบสตัวนั้น
  3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในโมเลกุลของเบสเอง ทำให้สมบัติทางเคมีในเชิงจับคู่ของมันเปลี่ยนไป เช่น เบสอะดีนีน (A) เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปใหม่แล้วก็จะไปจับคู่กับเบสไซโตซีน (C) รูปปกติ แทนที่อะดีนีนจะจับคู่กับไทมีน (T) ตามปกติของมัน

ปัจจัย ที่ทำให้เกิดมิวเทชัน

ตัวกระตุ้นหรือชักนำให้เกิดมิวเทชัน จะเรียกว่าสิ่งก่อกลายพันธุ์ (mutagen) เช่น

  1. รังสี (radiation) รังสีที่กระตุ้นให้เกิดมิวเทชันมี 2 ชนิดคือ
    1. Ionizing Radiation เช่น รังสีบีต้า, รังสีแกมมา, รังสีเอกซ์
    2. Non-Ionizing Radiation เช่น รังสีอุลตร้าไวโอเลต
  2. สารเคมี เช่น สารโคลซิซิน (colchicine) มีผลทำให้มีการเพิ่มจำนวนชุดของโครโมโซม ผลดังกล่าวนี้ทำให้ผลผลิตพืชเพิ่มขึ้น สารไดคลอวอส (dichlovos) ที่ใช้กำจัดแมลงและพาราควอต (paraquat) ที่ใช้กำจัดวัชพืช ก็สามารถทำให้เกิดการผิดปกติของโครโมโซมในคนและสัตว์ได้ สิ่งก่อกลายพันธุ์หรือมิวทาเจนหลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogen) เช่น สารอะฟลาทอกซิน (aflatoxins) จากเชื้อราบางชนิดทำให้เกิดมะเร็งที่ตับ เป็นต้น
  3. การจัดเรียงเบสในกระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA replication) ผิดพลาด มีผลทำให้เกิดการเพิ่มหรือลดจำนวนเบสในคู่สาย และทำให้เกิดการเลื่อน (shift) ของสายDNA

ประเภท ของมิวเทชัน

มิวเทชันเกิดกับเซลล์ในร่างกาย 2 ลักษณะ คือ

  1. เซลล์ร่างกาย (Somatic cell) เซลล์ชนิดนี้เมื่อเกิดมิวเทชันแล้ว จะไม่ถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไป
  2. เซลล์สืบพันธุ์ (Sex cell) เซลล์เหล่านี้เมื่อเกิดมิวเทชันแล้ว จะถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตมากที่สุด และส่งผลต่อวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตด้วย
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย http://th.wikipedia.org


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น